Friday 28 June 2013

คำอาราธนาพระปริตต (เพื่ออาราธนาพระสงฆ์เจริญพระพุทธมานต์)


วิปัตติ  ปะฏิ  พาหายะ,
เพื่อป้องกันความวิบัติ,

สัพพะสัมปัตติสิทธิยา,
เพื่อความสำเร็จแห่งสมบัติทั้งปวง

สัพพะ  ทุกขะ  วินาสายะ,
เพื่อความพินาศแห่งทุกข์ทั้งปวง,

ปะริตตัง  พรูถะ  มังคะลัง,
ขอท่านทั้งหลาย  จงสวดปริตตอันเป็นมงคลเถิด,


วิปัตติ  ปะฏิ  พาหายะ,
เพื่อป้องกันความวิบัติ,

สัพพะสัมปัตติสิทธิยา,
เพื่อความสำเร็จแห่งสมบัติทั้งปวง,

สัพพะ  ภะยะ  วินาสายะ,
เพื่อความพินาศแห่งภัยทั้งปวง,

ปะริตตัง  พรูถะ  มังคะลัง,
ขอท่านทั้งหลายจงสวดปริตต  อันเป็นมงคลเถิด,


วิปัตติ  ปะฏิ  พาหายะ,
เพื่อป้องกันความวิบัติ,

สัพพะสัมปัตติสิทธิยา,
เพื่อความสำเร็จแห่งสมบัติทั้งปวง,

สัพพะ  โรคะ  วินาสายะ,
เพื่อความพินาศแห่งโรคทั้งปวง,

ปะริตตัง  พรูถะ  มังคะลัง.
ขอท่านทั้งหลาย  จงสวดปริตต  อันเป็นมงคลเถิด.

------------------------------------------------
คัดลอกจาก.....หนังสือธรรมานุสรณ์
ทำวัตร สวดมนต์ ธรรมภาวนา
วัดถ้ำแฝด  ต.เขาน้อย  อ.ท่าม่วง  จ.กาญจนบุรี


Wednesday 26 June 2013

อุปกิเลส ๑๖


๑.    อิภิชฌาวิสะมะโลโภ,
       ความโลภเพ่งเล็งอยากได้ของเขา

๒.   โทโส,
       ความประทุษร้ายเขา,

๓.   โกโธ,
       ความโกรธเคืองเขา,

๔.   อุปะนาโห,
       ความผูกเวรหมายมั่นกัน,

๕.   มักโข,
       ความลบหลู่ดูถูกเขา,

๖.   ปะลาโส,
       ความยกตัวขึ้นเทียมเขา,

๗.   อิสสา,
       ความริษยาเขา,

๘.   มัจฉะริยัง,
       ความตระหนี่เหนียวแน่นเกียจกัน  หวงข้าว หวงของ
       และวิชาความรู้  ที่อยู่อาศัย,

๙.    มายา,
        ความเป็นคนเจ้าเล่ห์เจ้ากล,

๑๐.  สาเถยยัง,
        ความโอ้อวดตัวให้ยิ่งกว่าคุณที่มีอยู่,

๑๑.  ถัมโภ,
        ความแข็งกระด้าง ดื้อ ดึง เมื่อเขาสั่งสอนว่ากล่าวโดยธรรมโดยชอบ

๑๒.  สารัมโภ,
        ความปรารภไม่ยอมตาม  หาเหตุผลมาอ้าง ทุุ่มเถียงต่าง ๆ
        เมื่อขณะเขาว่ากล่าวโดยธรรม

๑๓.  มาโน,
        ความเย่อหยิ่ง ถือเรา ถือเขา ถือตัว ถือตน,

๑๔.  อะติมาโน,
         ความดูถูกล่วงเกินผู้อื่น,

๑๕.  มะโห,
        ความเมาหลงในร่างกายที่ทรุดโทรม  ด้วยความชรามีอยู่ทุกวัน ๆ
        มาสำคัญว่ายังหนุ่มยังสาวอยู่  ประมาทไป และเมาหลงในร่างกาย
        ที่ป่วยไข้อยู่เป็นนิจ  ต้องกินยา คือข้าวน้ำทุกเช้าค่ำ  มาสำคัญว่า
        ไม่มีโรค  เป็นสุขสบาย ประมาทไป และเมาหลงในชีวิตที่เป็นของ
        ไม่เที่ยง พลันดับไปดังประทีปจุดไว้ในที่แจ้งฉะนั้น  มาสำคัญว่ายัง
        ไม่ตาย  ประมาทไป,

๑๖.  ปะมาโท.
        ความเมามันทั่วไปอารมณ์อันใดที่น่ารัก  ก็ไปหลงรักอารมณ์นั้น
        อารมณ์อันใดที่น่าชัง  ก็ไปหลงชิงชัง  โกรธต่ออารมณ์เหล่านั้น.

บรรจบเป็นอุปกิเลสเครื่องเศร้าหมองใจ ๑๖ ข้อ  จิตเศร้าหมองด้วยอุปกิเลส  ข้อใดข้อหนึ่ง ดังว่ามานี้แล้ว   จิตนั้นล้วนเป็นบาปอกุศลหมดทั้งสิ้น.


คัดลอกจาก.....หนังสือธรรมานุสรณ์
                        ทำวัตร สวดมนต์ ธรรมภาวนา
                        วัดถ้ำแฝด ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี


Monday 24 June 2013

ติลักขณาทิคาถา

นำ  (หันทะ มะยัง ติลักขะณาทิคาถาโย ภะณามะ เส.)

สัพเพ  สังขารา  อะนิจจาติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่าสังขารทั้งปวง

ยะทา  ปัญญายะ  ปัสสะติ,
ไม่เที่ยง,

อะถะ  นิพพินทะติ  ทุกเข
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่าย ในสิ่งที่เป็นทุกข์

เอสะ  มัคโค  วิสุทธิยา,
ที่ตนหลง  นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพาน
อันเป็นธรรมหมดจด,

สัพเพ  สังขารา  ทุกชาติ
เมื่อใด  บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า  สังขาร

ยะทา  ปัญญายะ  ปัสสะติ,
ทั้งปวงเป็นทุกข์,

อะถะ  นิพพินทะติ  ทุกเข
เมื่อนั้น  ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งเป็นทุกข์

เอสะ  มัคโค  วิสุทธิยา,
ที่ตนหลง  นั่นแหละ  เป็นทางแห่งนิพพาน
อันเป็นธรรมหมดจด,

สัพเพ  ธัมมา  อะนัตตาติ
เมื่อใด  บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า  ธรรมทั้งปวง

ยะทา  ปัญญายะ  ปัสสะติ,
เป็นอนัตตา,

ยะถะ  นิพพินทะติ  ทุกเข
เมื่อนั้น  ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์

เอสะ  มัคโค  วิสุทธิยา,
ที่ตนหลง  นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพาน
อันเป็นธรรมหมดจด

อัปปะกา  เต  มะนุสเสสุ
ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย  ผู้ที่ถึงฝั่งแห่งพระ

เย  ชะนา  ปาระคามิโน,
นิพพานมีน้อยนัก,

อะถายัง  อิตะรา  ปะชา
หมู่มนุษย์นอกนั้น  ย่อมวิ่งเลาะอยู่ตามฝั่งใน

ตีระเมวานุธาวะติ,
นี่เอง,

เย  จะ  โข  สัมมะทักขาเต
ก็ชนเหล่าใดประพฤติสมควรแก่ธรรม  ใน

ธัมเม  ธัมมานุวัตติโน,
ธรรมที่ตรัสไว้ชอบแล้ว,

เต  ชะนา  ปาระเมสสันติ
ชนเหล่านั้นจักถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน

มัจจุเธยยัง  สุทุตตะรัง,
ข้ามพ้นบ่วงแห่งมัจจุราชที่ข้ามได้ยากนัก

กัณหัง  ธัมมัง  วิปปะหายะ,
จงเป็นบัณฑิตละธรรมดำเสีย  แล้วเจริญ

สุกกัง  ภาเวถะ  ปัณฑิโต,
ธรรมขาว,

โอกา  อะโนกะมาคัมมะ
จงมาถึงที่ไม่มีน้ำ  จากที่มีน้ำ  จงละกามเสีย

วิเวกเก  ยัตถะ  ทูระมัง,
เป็นผู้ไม่มีความกังวล,

ตัตราภิระติมิจเฉยยะ
จงยินดีเฉพาะต่อพระนิพพานอันเป็นที่สงัด

หิตวา  กาเม  อะกิญจะโน,
ซึ่งสัตว์ยินดีได้โดยยาก,

ปะริโยทะเปยยะ  อัตตานัง
บัณฑิตควรยังตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้า-

จิตตะเกละเสหิ  ปัณฑิโต,
หมองแห่งจิตทั้งหลาย,

เยสัง  สัมโพธิ  ยังเคสุ
จิตอันบัณฑิตทั้งหลายเหล่าใดอบรมดีแล้ว

สัมมา  จิตตัง  สุภาวิตัง,
โดยถูกต้อง  ในองค์เป็นเหตุตรัสรู้ทั้งหลาย,

อาทานะปฏินิสสัคเค
บัณฑิตทั้งหลายเหล่าใดไม่ถือมั่น  ยินดีแล้ว

อะนุปาทายะ  เย  ระตา,
ในอันสละความยึดถือ,

ขีณาสะวา  ชุติมันโต
บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น  ย่อมเป็นผู้ไม่มี

เต  โลเก  ปะรินิพพุตาติ.
อาสวะ  มีความโพลงดับสนิทในโลก  ดังนี้แล.


                                                       
คัดลอกจาก.....หนังสือธรรมานุสรณ์
                        ทำวัตร สวดมนต์ ธรรมภาวนา
                        วัดถ้ำแฝด ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี



















Sunday 23 June 2013

ภัทเทกรัตตคาถา

นำ (หันทะ มะยัง ภัทเทกะรัตตะคาถาโย ภะณามะเส)

อะตีตัง  นานวาคะเมยยะ,
ผู้มีปัญญา  ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้วด้วยอาลัย

นัปปะฏิกังเข  อะนาคะตัง,
ไม่พึงพะวงถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง,

ยะทะตีตัมปะหีนันตัง,
สิ่งใดที่เป็นอดีตก็ละไปแล้ว,

อัปปัตตัญจะ  อะนาคะตัง,
สิ่งที่เป็นอนาคตก็ยังไม่มาถึง,

ปัจจุปันนัญจะ  โย  ธัมมัง,
บุคคลใด  เห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้า

ตัตถะ  ตัตถะ  วิปัสสะติ,
ในที่นั้น ๆ  อย่างแจ่มแจ้ง,

อะสังหิรัง  อะสังกุปปัง,
ไม่ง่อนแง่น  ไม่คลอนแคลน,

ตัง  วิทธา  มะนุพรูหะเย,
บุคคนั้น  ได้รู้ความนั้นแล้ว  ควรเจริญไว้เนือง ๆ ,

อัชเชวะ  กิจจะมาตัปปัง,
ความเพียรเผากิเลสเป็นกิจที่ต้องทำในวันนี้,

โก  ชัญญา  มะระณัง  สุเว,
ใครเล่าจะพึงรู้ว่า ความตายจะมีในวันพรุ่งนี้,

นะ  หิโน  สังคะรันเตนะ
เพราะการผัดผ่อนต่อพญามัจจุราชซึ่งมีเสนา

มะหาเสเนนะ  มัจจุนา,
มาก  ย่อมไม่มีสำหรับเรา,

เอวัง  วิหาริมาตาปิง
มุนีผู้สงบระงับ  ย่อมกล่าวเรียกบุคคลผู้มี

อะโหรัตตะมะตันทิตัง
ธรรมเป็นเครื่องอยู่  ผู้มีความเพียรอันเผา-

ตัง  เว  ภัทเทกะรัตโตติ
กิเลส  ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน

สันโต  อาจิกขะเต  มุนีติ.
ว่าเป็นผู้เจริญ  แม้เพียงราตรีเดียวก็น่าชม ดังนี้.


                                                                                 

คัดลอกจาก.....หนังสือธรรมานุสรณ์
                        ทำวัตร สวดมนต์ ธรรมภาวนา
                        วัดถ้ำแฝด ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี


Saturday 22 June 2013

เขมาเขมสรณทีปิกคาถา

นำ  (หันทะ  มะยัง  เขมาเขมะสะระณะทีปิกะคาถาโย  ภะณามะ  เส)

พะหุง  เว  สะระณัง  ยันติ  ปัพพะ-
มนุษย์ทั้งหลายส่วนมากเมื่อเกิดมีภัยคุกคาม

ตานิ  วะนานิ  จะ  อารามะรุกขะเจต-
แล้ว ก็ถือเอาภูเขาบ้าง  ป่าไม้บ้าง  อารามบ้าง

ยานิ  มะนุสสา  ภะยะตัชชิตา,
และรุกขเจดีย์บ้าง เป็นสรณะ,

เนตัง  โข  สะระณัง  เขมัง  เนตัง
นั่นมิใช่สรณะอันเกษมเลย  นั่นมิใช่สรณะ

สะระณะมุตตะมัง  เนตัง  สะระณะ-
อันสูงสุด  เขาอาศัยสรณะนั่นแล้ว  ย่อมไม่พ้น

มาคัมมะ สัพพะทุกขา  ปะมุจจะติ,
จากทุกข์ทั้งปวง,

โย  จะ  พุทธัญจะ  ธัมมัญจะ
ส่วนผู้ใดถือเอาพระพุทธเจ้า  พระธรรมเจ้า

สังหัญจะ  สะระณัง  คะโต  จัตตาริ
พระสงฆเจ้า  ว่าเป็นสรณะแล้ว  เห็นอริยสัจจ์

อะริยะสัจจานิ  สัมมัปปัญญายะ
คือความจริงอันประเสริฐทั้งสี่  ด้วยปัญญา

ปัสสะติ,
อันชอบ,

ทุกขัง  ทุกขะสะมุปปาทัง  ทุกขัสสะ
คือเห็นความทุกข์  เหตุให้เกิดทุกข์  ความ

จะ  อะติกกะมัง,
ก้าวล่วงทุกข์เสียได้,

อะริยัญจัฎฐังคิกัง  มัคคัง
แหละหนทางมีองค์แปด  อันประเสริฐเป็น-

ทุกขูปะสะมะคามินัง,
เครื่องถึงความระงับทุกข์,

เอตัง  โข  สะระณัง  เขมัง  เอตัง
นั่นแหละ เป็นสรณะอันเกษม  นั่นเป็นสรณะ

สะระณะมุตตะมัง  เอตัง  สะระณะ-
อันสูงสุด  เขาอาศัยสรณะ นั่นแล้ว  ย่อมพ้น

มาคัมมะ  สัพพะทุกขา  ปะมุจจะตีติ.
จากทุกข์ทั้งปวงได้  ดังนี้.

                                                                                                       


คัดลอกจาก.....หนังสือธรรมานุสรณ์
                        ทำวัตร สวดมนต์ ธรรมภาวนา
                        วัดถ้ำแฝด ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี






Friday 21 June 2013

ภารสุตตคาถา

นำ  (หันทะ  มะยัง  ภาระสุตตะคาถาโย  ภะณามะ  เส)

ภารา  หะเว  ปัญจักขันธา,
ขันธ์ทั้งห้า  เป็นของหนักเน้อ,

ภาระหาโร  จะ  ปุคคะโล,
บุคคลแหละ  เป็นผู้แบกของหนักพาไป,

ภาราทานัง  ทุกขัง  โลเก,
การแบกถือของหนัก  เป็นความทุกข์ในโลก,
(
ภาระนิกเขปะนัง  สุขัง,
การสลัดของหนัก ทิ้งลงเสีย เป็นความสุข,

นิกขิปิตวา  คะรุง  ภารัง,
พระอริยเจ้า  สลัดทิ้งของหนัก  ลงเสียแล้ว,

อัญญัง  ภารัง  อะนาทิยะ,
ทั้งไม่หยิบฉวยเอาของหนักอันอื่นขึ้นมาอีก,

สะมูลัง  ตัณหัง  อัพพุยหะ,
ก็เป็นผู้ถอนตัณหาขึ้นได้  กระทั่งราก

นิจฉาโต  ปะรินิพพุโตติ.
เป็นผู้หมดสิ่งปรารถนา ดับสนิท ไม่มีส่วนเหลือ.


บทพิจารณาสังขาร
(ทุกเวลาทำวัตรเช้าและเวลาเข้านอน)

สัพเพ  สังขารา  อะนิจจา,
สังขาร คือ ร่างกายจิตใจ  แลรูปธรรม นามธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้น
มันไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป มีแล้วหายไป.

สัพเพ  สังขารา  ทุกขา,
สังขาร คือ ร่างกายจิตใจ แลรูปธรรม นามธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้น
มันเป็นทุกข  ทนยาก  เพราะเกิดขึ้นแล้ว แก่ เจ็บ ตายไป,

สัพเพ  ธัมมา  อะนัตตา,
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง  ทั้งที่เป็นสังขาร และมิใช่สังขาร ทั้งหมดทั้งสิ้น
ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ควรถือว่าเรา ว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา,

อะธุวัง  ชีวิตัง,
ชีวิตเป็นของไม่ยั่งยืน,

ธุวัง  มะระณัง,
ความตายเป็นของยั่งยืน,

อะวัสสัง  มะยา  มะริตัพพัง,
อันเราจะพึงตายเป็นแท้,

มะระณะปะริโยสานัง  เม  ชีวิตัง,
ชีวิตของเรา มีความตายเป็นที่สุดรอบ,

ชีวิตัง  เม  อะนิยะตัง,
ชีวิตของเราเป็นของไม่เที่ยง

มะระณัง  เม  นิยะตัง,
ความตายของเราเป็นของเที่ยง,

วะตะ,
ควรที่จะสังเวช,

อะยัง  กาโย,
ร่างกายนี้,

อะจิรัง,
มิได้ตั้งอยู่นาน,

อะเปตะวิญญาโณ,
ครั้นปราศจากวิญญาณ,

ฉุฑโฑ,
อันเขาทิ้งเสียแล้ว,

อะธิเสสสะติ,
จักนอนทับ,

ปะฐะวิง,
ซึ่งแผ่นดิน,

กะลิงคะรัง  อิวะ,
ประดุจดังว่าท่อนไม้และท่อนฟืน,

นิรัตถัง.
หาประโยชน์มิได้.



คัดลอกจาก.....หนังสือธรรมานุสรณ์
                        ทำวัตร สวดมนต์ ธรรมภาวนา
                        วัดถ้ำแฝด ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี










Thursday 20 June 2013

โอวาทปาติโมกขคาถา


 นำ  (หันทะ  มะยัง  โอวาทะปาติโมกขะคาถาโย  ภะณามะ  เส)

สัพพะปาปัสสะ  อะกะระณัง,
การไม่ทำบาปทั้งปวง

กุสะลัสสูปะสัมปะทา,
การทำกุศลให้ถึงพร้อม,

สะจิตตะปะริ  โยทะปะนัง,
การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ,

เอตัง  พุทธานะสาสะนัง,
ธรรม ๓ อย่างนี้  เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย,

ขันตี  ปะระมัง  ตะโป  ตีติกขา,
ขันติ  คือความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง,

นิพพานัง  ปะระมัง  วะทันติ  พุทธา,
ผู้รู้ทั้งหลาย  กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง,

นะ  หิ  ปัพพะชิโต  ปะรูปะฆาตี,
ผู้กำจัดสัตว์อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย,

สะมะโณ  โหติ  ปะรัง  วิเหฐะยันโต,
ผู้ทำลายสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่  ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย,

อะนูปะวาโท  อะนูปะฆาโต,
การไม่พูดร้าย, การไม่ทำร้าย,

ปาติโมกเข  จะ  สังวะโร,
การสำรวมในปาติโมกข์,

มัตตัญญุตา  จะ  ภัตตัสมิง,
ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค,

ปันตัญจะ  สะยะนาสะนัง,
การนอน  การนั่ง  ในที่อันสงัด,

อะธิจิตเต  จะ  อาโยโค,
ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง,

เอตัง  พุทธานะสาสะนัง,
ธรรม ๖ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย,


ปัจฉิมพุทโธวาทปาฐะ

นำ  (หันทะ  มะยัง  ปัจฉิมะพุทโธวาทะปาฐัง  ภะณามะ  เส)

หันทะทานิ  ภิกขะเว,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  บัดนี้  เราขอเตือน,

อามันตะยามิโว,
ท่านทั้งหลายว่า

วะยะธัมมา  สังขารา,
สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา,

อัปปะมาเทนะ  สัมปาเทถะ,
ท่านทั้งหลาย  จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด,

อะยัง  ตะถาคะตัสส
นี้เป็นพระวาจาในครั้งสุดท้าย ของพระ-

ปัจฉิมาวาจา.
ตาถาคต.


ปัญจอภิณหปัจจเวขณปาฐะ

ชะราธัมโมมหิ, (อ่านว่า ธัม-โมม-หิ)
เรามีความแก่เป็นธรรมดา,

ชะรัง  อะนะตีโต (ตา)
ล่วงความแก่ไปไม่ได้,

พะยาธิธัมโมมหิ,
เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา,

พะยาธิง  อะนะตีโต,  (ตา)
ล่วงความเจ็บไข้ไปไม่ได้,

มะระณะธัมโมมหิ,
เรามีความตายเป็นธรรมดา,

มะระณัง  อะนะตีโต  (ตา),
ล่วงความตายไปไม่ได้,

สัพเพหิ  เม  ปิเยหิ  มะนาเปหิ,
เราละเว้นเป็นต่าง ๆ คือว่า  พลัดพราก

นานาภาโว  วินาภาโว,
ของรัก  ของเจริญใจทั้งหลายทั้งปวง,

กัมมัสสะโกมหิ,
เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของ ๆ  ตน,

กัมมะทายาโท,
เป็นผู้รับผลของกรรม,

กัมมะโวยนี,
เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด,

กัมมะพันธุ,
เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์,

กัมมะปะฏิสะระโณ,
เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย,

ยัง  กัมมัง  กะริสสามิ,
จักทำกรรมอันใดไว้,

กัลยาณัง  วา  ปาปะกังวา,
ดีหรือชั่ว,

ตัสสะ  ทายาโท  ภะวิสสานิ,
จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น,

เอวัง  อัมเหหิ  อะภิณหัง,
เราทั้งหลายพึงพิจารณาเนือง ๆ

ปัจจะเวกขิตัพพัง.
อย่างนี้แล.




คัดลอกจาก.....หนังสือธรรมานุสรณ์
                        ทำวัตร สวดมนต์ ธรรมภาวนา
                        วัดถ้ำแฝด ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
















Monday 17 June 2013

อุทิสสะนาธิฎฐานะคาถา (กรวดน้ำตอนเย็น)

นำ  (หันทะ  มะยัง  อุททิสสะนาธิฎฐานะคาถาโย  ภะณามะ  เส)

อิมินา  ปุญญะกัมเมนะ,
ด้วยบุญนี้ อุทิศให้,

อุปัชฌายา  คุณุตตะรา,
อุปัชฌาย์ ผู้เลิศคุณ,

อาจะริยูปะการา  จะ,
แลอาจารย์  ผู้เกื้อหนุน,

มาตาปิตา  จะ  ญาตะกา,
ทั้งพ่อแม่  แลปวงญาติ,

สุริโย  จันทิมา  ราชา,
สูรย์จันร์  แลราชา,

คุณะวันตา  นะราปิ  จะ,
ผู้ทรงคุณ  หรือสูงชาติ,

พรหมะมารา  จะ  อินทา  จะ
พรหมมาร  และอินทราช,

โลกะปาลา  จะ  เทวะตา,
ทั้งทวยเทพ  และโลกบาล,

ยะโม  มิตตา  มะนุสสา  จุะ,
ยมราช  มนุษย์  มิตร,

มัชฌัตตา  เวริกาปิ  จะ,
ผู้เป็นกลาง  ผู้จ้องผลาญ,

สัพเพ  สัตตา  สุขี  โหนตุ,
ขอให้เป็นสุขศานติ์  ทุกทั่วหน้า  อย่าทุกข์ทน,

ปุญญานิ  ปะกะตานิ  เม,
บุญผอง ที่ข้าทำจงช่วยอำนวยศุภผล,

สุขัง  จะ  ติวิธัง  เทนตุ,
ให้สุข  สามอย่างล้น,

ขิปปัง  ปาเปถะ  โวมะตัง,
ให้บรรลุถึง  นิพพานพลัน,

อิมินา  ปุญญะกัมเมนะ,
ด้วยบุญนี้ที่เราทำ,

อิมินา  อุททิเสานะ  จะ,
แลอุทิศให้ปวงสัตว์,

ขิปปาหัง  สุละเภ  เจวะ,
เราพลันได้ซึ่งการตัด

ตัณหุปาทานะ  เฉทะนัง,
ตัวตัณหา  อุปาทาน,

เย  สันตาเน  หินา  ธัมมา,
สิ่งชั่ว  ในสันดาน,

ยาวะ  นิพพานะโต  มะมัง,
กว่าเราจะถึงนิพพาน,

นัสสันตุ  สัพพะทา  เยวะ,
มลายสิ้นจากสันดาน,

ยัตถะ  ชาโต  ภะเว  ภะเว,
ทุก ๆ ภพ  ที่เราเกิด,

อุชุจิตตัง  สะติปัญญา,
มีจิตตรง และสติ ทั้งปัญญา  อันประเสริฐ,

สัลเลโข  วิริยัมหินา,
พร้อมทั้ง  ความเพียรเลิศเป็นเครื่องขูดกิเลสหาย,

มารา  ละภันตุ  โนกาสัง,
โอกาส อย่าพึงมีแก่หมู่มาร  สิ้นทั้งหลาย,

กาตุญจะ  วิริเยสุ  เม,
เป็นช่อง ประทุษร้าย ทำลายล้างความเพียรจม,

พุทธาทิปะ  วะโร  นาโถ,
พระพุทธเจ้า  ผู้บวรนาถ,

ธัมโม  นาโถ  วะรุตตะโม,
พระธรรมเป็นที่พึ่งอันอุดม,

นาโถ  ปัจเจกะพุทโธ  จะ,
พระปัจเจกะพุทธสมทบ,

สังโฆ  นาโถตตะโร  มะมัง,
พระสงฆ์เป็นที่พึ่งผยอง,

เตโสตตะมานุภาเวนะ,
ด้วยอานุภาพนั้น,

มาโรกาสัง  ละภันตุ  มา,
ขอหมู่มาร  อย่าได้ช่อง

ทะสะปุญญานุภาเวนะ,
ด้วยเดชบุญ  ทั้งสิบป้อง,

มาโร  กาสัง  ละภันตุมา,
อย่าเปิดโอกาสแก่มาร  เทอญ


                                                                                       

คัดลอกจาก.....หนังสือธรรมานุสรณ์
                        ทำวัตร สวดมนต์ ธรรมภาวนา
                        วัดถ้ำแฝด ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี



















Thursday 13 June 2013

กรวดน้ำตอนเช้า

(เทวตาทิปัตติทานคาถา)

นำ  (หันทะ  มะยัง  ปัตติทานะคาถา  โย  ภะณามะ  เส.)

ยาเาทวะตาสันติวิหาระวาสินี
เทพยดาทั้งหลายเหล่าใดมีปกติอยู่ในวหาร

ถูเปฆะเร  โพธิ  ฆะเร  ตะหิง  ตะหิง,
สิงสถิตที่เรือนพระสถูปที่เรือนโพธิในที่นั่น ๆ ,

ตาธัมมะทาเนนะ  ภะวันตุปูชิตา
เทพยดาทั้งหลายเหล่่านั้น เป็นผู้อันเราทั้ง

โตถิง  กะโรน
หลายบูชาแล้วด้วยธรรมทาน  ขอจงทำซึ่ง

เตธะวิหาระมัณฑะเล,
ความเจริญในมณฑลวิหารนี้,

เถรา  จะ  มัชฌา   นะวะกา
พระภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระก็ดี  ที่เป็นปาน

จะภิกขะโข  สารามิกา  ทานะ  ปะตี
กลางก็ดี  ที่ยังใหม่ก็ดี อุบาสกอุบาาสิกา

อุปาสะกา,
ทั้งหลาย,

คามา  จะ  เทสา  นิคะมา  จะ  อิสสะรา,
ที่เป็นทานาบดีพร้อมด้วยอารามิกชนก็ดี

สัปปาณะ  ภูตา  สุชิตา  ภะวันตุ  เต,
ชนทั้งหลายเหล่านั้น จงเป็นผู้มีความสุขทุกเมื่อเถิด,

ชะลาพุชา  เยปิ  จะ  อัณฑะสัมภะวา
สัตว์ทั้งหลายที่เกิดจาากครรภ์ก็ดี  ที่เกิดจาก

สังเสหะชาตา  อะถะโว  ปะปาติกา,
ฟองไข่ก็ดี ที่เกิดในเถ้าไคลก็ดี  ที่เกิดขึ้นโตทีเดียวก็ดี,

นิย (นี) ยานิกัง  ธัมมะวะรัง
สัตว์ทั้งหลายแม้ทั้งปวงเหล่านั้น ได้อาศัย

ปะฏิจจะเต  สัพเพป  ทุกขัสสะ
ซึงธรรมอันประเสริฐเป็นนิยานิคธรรมประ-

กะโรนตุ  สังขะยัง,
กอบในอันนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์
จงกระทำซึ่งความสิ้นไปพร้อมแห่งทุกข์เถิด,

ฐาตุ  จิรัง  สะตัง  ธัมโม  ธัมมัทธะรา  จะปุคคะลา,
ขอธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย จงตั้งอยู่นาน
อนึ่ง ขอบุคคลทั้งหลายผู้ทรงไว้ซึ่งธรรมดำรงอยู่,

สังโฆโหตุ  สะมัคโควะ  อัตถายะ
ขอพระสงฆ์จงมีความสามัคคี  พร้อมเพรียง

จะ  หิตายะจะ,
กันในอันทำประโยชน์และสิ่งอันเกื้อกูลเถิด,

อัมเหรักขะตุ  สัทธัมโม-
ขอพระสัทธรรม จงรักษาซึ่งเราทั้งหลาย

สัพเพปิธัมมะจาริโน,
แล้วจงรักษาไว้ซึ่งบุคคลทั้งหลายทั้งปวง,

วุฑฒิง  สัมปาปุเณยยามะ  ธัมเม
ขอเราทั้งหลายพึงถึงพร้อม ซึ่งความเจริญ

อะริยัป  ปะเรทิเต,
ในธรรมที่พระอริยเจ้าประกาศ ไว้แล้วเถิด,

ปะสันนา  โหนตุ  สัพเพปิ
แม้สรรพสัตว์ทั้งหลาย จงเป็นผู้เลื่อมใสแล้ว

ปาณิโน  พุทธะสาสะเน,
ในพระพุทธศาสนา,

สัมมา  ธารัง  ปะเวจฉันโต กาเล  เทโว  ปะวัสสะตุ,
ฝนจงเพิ่มให้อุทกธาร ตกต้องในกาล โดยชอบ,

วุฑฒิภาวายะ  สัตตานัง
จงนำไปซึ่งเมทนีดล ให้สำเร็จประโยชน์  เพื่อ

สะมิทธัง  เนตุ  เมทะนิง,
อันบังเกิดความเจริญแก่สัตว์ทั้งหลาย,

มาตา  ปิตา  จะ  อัตระชัง
มารดาและบิดา ย่อมถนอมบุตรน้อย อัน

นิจจัง  รักขันติ  ปุตตะกัง,
บังเกิดในตนเป็นนิตย์ฉันใด,

เอวัง  ธัมเมนะ  ราชาโน
พระราชาทั้งหลาย  จงทรงรักษา ประชา,

ปะชัง  รักขันตุ  สัพพะทา.
ราษฎร์โดยชอบ ในกาลทั้งปวงนั้นเทอญ.



คัดลอกจาก.....หนังสือธรรมานุสรณ์
                        ทำวัตร สวดมนต์ ธรรมภาวนา
                        วัดถ้ำแฝด ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี






Tuesday 11 June 2013

แผ่เมตตา


สัพเพ  สัตตา 
สัตว์ทั้งหลาย, ที่เป็นเพื่อนทุกข์, เกิดแก่เจ็บตาย, ด้วยกันหมดทั้งสิ้น,

อะเวรา, 
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด,  อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย,

อัพะยาปัชฌา,
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด,  อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย,

อะนีฆา,
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด,  อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย,

สุขี  อัตตานัง  ปะริหะรันตุ,
จงมีความสุขกายสุขใจ, รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ.



อุทิศส่วนกุศล

อิทัง  เม,  มาตาปิตูนัง  โหตุ,  สุขิตา  โหนตุ,  มาตาปิตะโร,
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ,  แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า,  จงมีความสุข,

อิทังเม,  ญาตีนังโหตุ,  สุขิตาโหนตุ,  ญาตะโย,
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ, แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า,  ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า,  จงมีความสุข,

อิทัง  เม,  คุรูปัชฌายาจริยานัง  โหตุ,  สุขิตา  โหนตุ,  คุรูปัชฌายาจริยา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ,  แก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า, ขอให้ครูอุปัชฌาอาจารย์ของข้าพเจ้า,  จงมีความสุข,

อิทัง,   สัพพะเทวานัง  โหตุ,  สุขิตา  โหนตุ,  สัพเพ  เทวา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ,  แก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง,  ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวง,  จงมีความสุข,

อิทัง,  สัพพะเปตานัง  โหตุ,  สุขิตา  โหนตุ,  สัพเพ  เปตา,
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ,  แก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง,  ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวง,  จงมีความสุข

อิทัง,  สัพพะเวรีนัง  โหตุ,  สุขิตาโหนตุ,  สพเพ  เวรี,
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ,  แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง,  ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง,  จงมีความสุข.

อิทัง,  สัพพะสัตตานัง  โหตุ,  สุขิตา  โหนตุ,  สัพเพ  สัตตา,
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ,  แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง,  ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง,  จงมีความสุข.



ถวายข้าวพระพุทธ

อิทัง  สูปะพยัญชะนะสัมปันนัง  สาลีนัง  โภชะนัง  อุทะกังวะรัง  พุทธัสสะ  ปูเชมิฯ
ข้าพเจ้าขอบูชา  องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยโภชนาอาหารและน้ำนี้


ลาข้าวพระพุทธ

เสสัง มังคะลัง  ยาจามิฯ
ข้าพเจ้าได้บูชาแล้ว  ขออนุญาตรับประทานสิ่งที่เหลืออันเป็นมงคลนี้ฯ


คัดลอกจาก....หนังสือแสงแห่งธรรม
บทสวดมนต์  มงคลคาถาและการฝึกจิต
จิตศรัทธา  พุทธานุภาพ

Saturday 8 June 2013

คำทำวัตรเย็น

(ปุพพภาคนมการ)

นำ  (หันทะมะยัง  พุทธัสสะ  ภะคะวะโต  ปุพพะภาคะนะมะการัง  กะโร  มะเส)

นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า  พระองค์นั้น,

อะระหะโต
ซึ่งเป็นผู้ไกลจกกิเลส,

สัมมาสัมพุทธัสสะ,
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

(ว่า ๓ ครั้ง)


                                    
                                     ( ๑.  พุทธานุสสติ )

                           นำ  (หันทะ  มะยัง  พุทธานุสสะติ  นะยัง  กะโรมะ  เส.)



ตังโข  ปะนะ  ภะคะวันตัง  เอวัง
ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้า

กัลยาโณ  กิตติ  สัทโท  อัพภุคคะโต,

นั้น ได้ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า,

อิติปิ  โส  ภะคะวา,
เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ  พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น,

อะระหัง,
เป็นผู้ไกลจากกิเลส,

สัมมาสัมพุทโธ,
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,

วิชชาจะระณะสัมปันโน,
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ,

สุคะโต,
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี,

โลกะวิทู,
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง,

อะนุตตะโร  ปุริสะทัมมะสาระถิ,
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า,

สัตถา  เทวะมะนุสสานัง,

เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,

พุทโธ,
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม,

ภะคะวา  ติ.
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ดังนี้.


                                  ( ๒.  พุทธาภิคีติ )


                          นำ  ( หันทะ  มะยัง  พุทธาภิคีติง  กะโรมะ  เส. )



พุทธวาระหันตะวะตาทิคุณาภิ  ยุตโต,
พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณ  มีความประเสริฐแห่งอรหันตคุณ เป็นต้น,

สุทธาภิ  ญาณะกะรุณาหิ
มีพระองค์อันประกอบด้วยพระญาณ และ

สะมาคะตัตโต,
พระกรุณาอันบริสุทธิ์,

โพเธสิ  โย  สุชะนะตัง  กะมะลัง
พระองค์ใด  ทรงกระทำชนที่ดีให้เบิกบาน

วะ  สูโร,
ดุจพระอาทิตย์ทำบัวให้บาน,

วันทามะหัง  ตะมะระณัง  สิระสา
ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์  ผู้ไม่มีกิเลสพระองค์

ชิเนนทัง,
นั้น  ด้วยเศียรเกล้า,

พุทโธ  โย  สัพพะปาณีนัง
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เป็นสรณะอันเกษม

สะระณัง  เขมะมุตตะมัง,
สูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย,

ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง  วันทามิ
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น อัน

ตัง  สิเรนะหัง.
เป็นที่ตั้งแห่งความระลึก องค์ที่หนึ่งด้วยเศียรเกล้า,

พุทธัสสาหัสมิ  ทาโส (ทาสี)  วะ
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า

พุทโธ  เม  สามิกิสสะโร,
พระพุทธเจ้าเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า

พุทโธ  ทุกขัสสะ  ฆาตา  จะ  วิธาตา
พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกำจัดทุกข์  และทรง

จะ  หิตัสสะเม,
ไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า,

พุทธัสสาหัง  นิยยาเทมิ
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้

สะรีรัญชีวิตตัญจิทัง,
แด่พระพุทธเจ้า,

วันทันโตหัง  (ตีหัง)  จะริสสามิ
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความ

พุทธัสเสวะ  สุ  โพธิตัง,
ตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า,

นัตถิเม  สะระณัง อัญญัง  พุทโธ
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี  พระพุทธเจ้าเป็น

เม  สะระณัง  วะรัง,
สรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า,

เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้  ข้าพเจ้าพึงเจริญใน

วัฑเฒยยัง  สัตถุสา  สะเน,
พระศาสนาของพระศาสดา,

พทธัง  เม  วันทะมาเนนะ  (มานายะ)
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้า  ได้ขวน-

ยัง  ปุญญัง  ปะสุตัง  อิธะ,
ขวายบุญใดในบัดนี้

สัพเพปิ  อันตะรายา  เม  มาเหสุง
อันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดช

ตัสสะเตชะสา.
แห่งบุญนั้น,

*( (กราบ)  กาเยนะ  วาจายะ  วะเจตะสา  วา,
ด้วยกายก็ดี  ด้วยวาจาก็ดี  ด้วยใจก็ดี,

พุทเธ  กุกัมมัง  ปะกะตัง  มะยา  ยัง,
กรรมน่าติเตียนอันใด  ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า,

พุทโธ  ปะฏิคคัณหะตุ  อัจจะยันตัง,
ขอพระพุทธเจ้า จงงดโทษล่วงเกินอันนั้น,

กาลันตะเร  สังวะริตุง  วะ  พุทเธ.
เพื่อการสำรวมระวัง  ในพระพุทธเจ้าในกาลต่อไป.


                                  
                                   ( ๓. ธัมมานุสสติ)  

                         นำ  (หันทะ  มะยัง  ธัมมานุสสะตินะยัง  กะโรมะ  เส.)      


สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม,
พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว,    

สันทิฏฐิโก,
เป็นธรรมที่ผู้ศึกษาและปฏืบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง

อะกาลิโก,
เป็นธรรมที่ปฏิบัติได้  และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล, 

โอปะนะยิโก,
เป็นธรรมที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว,

ปัจจัตตัง  เวทิตัพโพ  วิญญูหิ  ติ.
เป็นธรรมที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.                               
                                           

                                      (๔. ธัมมาภิคีติ)

                             นำ  (หันทะ  มะยัง  ธัมมาภิคีติง  กะโรมะ  เส.)


สวากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ  เสย (สัย)  โย,

พระธรรมเป็นธรรมที่ประเสริฐ เพราะประกอบด้วยคุณ คือความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นต้น,

โย  มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะ  เภโท,
เป็นธรรมอันจำแนกเป็น มรรค ผล ปริยัติ และนิพพาน

ธัมโม  กุโลกะปะตะนา
เป็นธรรมทรงไว้จากผู้ทรงธรรม จากการตก

ตะทะธาริธารี,
ไปสู่โลกที่ชั่ว,

วันทามะหัง  ตะมะหะรัง
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมอันประเสริฐนั้น อัน

วะระธัมมะเมตัง,
เป็นเครื่องขจัดเสียซึ่งความมืด,

ธัมโม  โย  สัพพะปาณีนัง  สะระณัง
พระธรรมใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของ

เขมะมุตตะมัง,
สัตว์ทั้งหลาย,

ทุติยานุสสติฏฐานัง  วันทามิ  ตัง
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น อันเป็นที่ตั้งแห่ง

สิเรนะหัง,
ความระลึก องค์ที่สอง ด้วยเศียรเกล้า,

ธัมมัสสาหัสมิ  ทาโส (ทาสี) วะ
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม พระธรรม

ธัมโม  เม  สามิ  กิสสะโร,
เป็นนาย  มีอิสระเหนือข้าพเจ้า,

ธัมโม  ทุกขัสสะ  ฆาตา จะ
พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้

วิธาตาจะ  หิตัสสะ  เม,
ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า,

ธัมมัสสาหัง  นิย (นี)  ยาเทมิ  สะรีรัญชีวิตัญ  จิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระธรรม

วันทันโตหัง (ตีหัง)  จะริสสามิ
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่่งความ

ธัมมัสเสวะ  สุธัมมะตัง,
เป็นธรรมดีของพระธรรม,

รัตถิ  เม  สะระณังอัญญัง
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระธรรมเป็น

ธัมโมเม  สะระณัง  วะรัง,
สรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า,

เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ  วัฑเฒยยัง
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้  ข้าพเจ้าพึงเจริญใน

สัตถุสาสะเน,
พระศาสนาของพระศาสดา,

ธัมมัง เม  วันทะมาเนนะ (มานายะ)
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระธรรม ได้ขวนขวาย

ยัง  ปุญญัง  ปะสุตัง  อิธะ,
บุญใดในบัดนี้,

สัพเพปิ  อันตะรายา  เม  มาเหสุง
อันตรายทั้งปวงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดช

ตัสสะ  เตชะสา,
แห่งบุญนั้น

** (กราบ) กาเยนะ  วาจายะ  วะเจตะสาวา,
ด้วยกายก็ดี  ด้วยวาจาก็ดี  ด้วยใจก้ดี,

ธัมเม  กุกัมมัง  ปะกะตัง  มะยา  ยัง,
กรรมอันน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระธรรม

ธัมโม  ปะฏิคคัณหะตุ  อัจจะยันตัง,
ขอพระธรรม จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น,

กาลันตะเร  สังวะริตุง  วะ  ธัมเม.
เพื่อการสำรวมระวัง ในพระธรรมในกาลต่อไป.


                               
                                     (๕.  สังฆานุสสติ)

                           นำ  ( หันทะ  มะยัง  สังฆานุสสะตินะยัง  กะโร  มะ  เส.)


สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะ  สังโฆ,

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว

อุชุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะ  สังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว,

ญายะปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะ  สังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว.

สามีจิปะฏิปันโน  ภะคะโต  สาวะกะ  สังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว,

ยะทิทัง,
ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ,

จัตตาริ  ปุริสะยุคานิ
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ

อัฎฐะปุริสะปุคคะลา,
(โสดาปฏิมรรค  โสดาปฏิผล ฯลฯ),

เอสะ  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ,
นั่นแหละ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,

อาหุเนยโย,
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา,

ปาหุเนยโย,
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ,

ทักขิเณยโย,
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน,

อัญชะลีกะระณีโย,
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี,

อะนุตตะรัง  ปุญญักเขตตัง-
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

โลกัสสาติ.
ดังนี้


                                
                                          (๖.  สังฆาภิคีติ )

                                       นำ  ( หันทะ  มะยัง  สังฆาภิคีติ  กะโรมะเส. )


สัทธัมมะโช  สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต,

พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรม ประกอบด้วยคุณมีความปฏิบัติดีเป็นต้น,

โยฎฐัพพิโธ  อะริยะปุคคะละสังฆะเสฎโฐ,
เป็นหมู่แห่งพระอริยะบุคคลอันประเสริฐแปดจำพวก,

สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะ จิตโต,
มีกายและจิต อันอาศัยธรรมมีศีลเป็นต้น อันบวร,

วันทามะหัง  ตะมะริยานะคะณัง  สุสุทธัง,
ข้าพเจ้าไหว้หมู่แห่งพระอริยเจ้าเหล่านั้น อันบริสุทธิ์ด้วยดี,

สังโฆ  โย  สัพพะปาณีนัง
พระสงฆ์  หมู่ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด

สระระณัง  เขมะมุตตะมัง,
ของสัตว์ทั้งหลาย

ตะติยานุสสะติฏฐานัง  วันทามิ  ตัง
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น อันเป็นที่ตั้งแห่ง

สิเรนะหัง,
ความระลึกองค์ที่สามด้วยเศียรเกล้า,

สังฆัสสาหัสมิ  ทาโส (ทาสี)  วะ
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์

สังโฆ  เม  สามิกิสสะโร,
พระสงฆ์เป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า,

สังโฆ  ทุกขัสสะ  ฆาตา  จะ
พระสงฆ์เป็นเครื่องกำจัดทุกข์  และทรงไว้ซึ่ง

วิธาตาจะ  หิตัสสะ  เม,
ประโยชน์แก่ข้าพเจ้า,

สังฆัสสาหัง  นิยยาเทมิ
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระสงฆ์,

สะรีรัญชีวิตัญ  จิทัง  วันทันโตหัง (ตีหัง)  จะริสสามิ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความ

สังฆัสโส  ปะฏิปันนะตัง,
ปฏิบัติดีของพระสงฆ์

นัตถิเม  สะระณัง  อัญญัง  สังโฆเม
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี  พระสงฆ์เป็น

สะระณัง  วะรัง,
สรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า,

เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ  วัฑเฒยยัง
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้  ข้าพเจ้าพึงเจริญใน

สัตถุสาสะเน,
พระศาสนาของพระศาสดา,

สังฆัง  เม  วันทะมาเนนะ (มานายะ)
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระสงฆ์ ได้ขวนขวาย

ยัง  ปุญญัง  ปะสุตัง  อิธะ,
บุญใด ในบัดนี้,

สัพเพปิ  อันตะรายา  เม  มาเหสุง
อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดช

ตัสสะ  เตชะสา.
แห่งบุญนั้น.

** (กราบ)  กาเยนะ  วาจายะ  วะเจตะสา  วา,
ด้วยกายก็ดี  ด้วยวาจาก็ดี  ด้วยใจก็ดี,

สังเฆ  กุกัมมัง  ปะกะตัง  มะยา  ยัง,
กรรมน่าติเตียนอันใด  ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระสงฆ์,

สังโฆ  ปะฏิคคัณหะตุ  อัจจะยันตัง,
ขอพระสงฆ์  จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น,

กาลันตะเร  สังวะริตุง  วะ  สังเฆ.
เพื่อการสำรวมระวัง  ในพระสงฆ์ ในกาลต่อไป.

                                                                
                                                                (จบทำวัตรเย็น)



คัดลอกจาก.....หนังสือธรรมานุสรณ์
                        ทำวัตร สวดมนต์ ธรรมภาวนา
                        วัดถ้ำแฝด ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี




















Thursday 6 June 2013

คำทำวัตรเช้า


                                                  (ปุพพภาคนมการ)              

       นำ (หันทะมะยัง  พุทธัสสะ  ภะคะวะโต  ปุพพะภาคะนะมะการัง  กะโร  มะเส)

นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต,
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า  พระองค์นั้น,

อะระหะโต,
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส,

สัมมาสัมพุทธัสสะ.
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง  (ว่า ๓ ครั้ง)                                                  

                                                         
                                                    (๑. พุทธาภิถุติ)

                          นำ  (หันทะ  มะยัง  พุทธาภิถุติง  กะโร  มะ  เส)      


โย  โส  ตะถาคะโต,                            
พระตถาคตเจ้านั้น  พระองค์ใด,

อะระหัง,            
เป็นผู้ไกลจากกิเลส

สัมมาสัมพุทโธ,
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,

วิชชาจะระณะสัมปันโน,       
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ,

สุคะโต, 
เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว,

โลกะวิทู,  
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง,

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,  
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษผู้ที่สมควรฝึก ได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า                                                                             
 สัตถา  เทวะมะนุสสานัง,
 เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,

พุทโธ,   
เป็นผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบานด้วยธรรม,

ภะคะวา,      
เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์,

โย  อิมัง  โลกัง  สะเทวะกัง 
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ได้ทรงทำ

สะมาระกัง  สะพรัหมะกัง
ความดับทุกข์ให้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่ง

สัสสะมะณะ  พราหมะณัง  ปะชัง
เองแล้ว  ทรงสอนโลกนี้พร้อมทั้ง  เทวดา

สะเทวะมะนุสสัง  สะยัง  อะภิญญา
มาร พรหม และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณ

สัจฉิกัตตะวา  ปะเวเทสิ, 
พราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม

โย  ธัมมัง  เทเสสิ,  
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด   ทรงแสดงธรรมแล้ว                                            
 
อาทิกัลยาณัง,    
ไพเราะในเบื้องต้น,

 มัชเฌกัลยาณัง,    
 ไพเราะในท่ามกลาง,

 ปะริโยสานะกัลยาณัง,  
ไพเราะในที่สุด,

 สาตถัง  สะพยัญชะนัง          
 ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือแบบแห่งการ

 เกวะละปะริปุณณัง    
ปฏิบัติอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง

 ปะริสุทธังพรหมะจะริยัง  
 พร้อมทั้งอรรถะ (คำอธิบาย) พร้อมทั้ง

ปะกาเสสิ,    
พยัญชนะ  (หัวข้อ)

ตะมะหัง  ภะคะวันตังอะภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง  เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,
                                                                            
ตะมะหัง  ภะคะวันตัง  สิระสา    
ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า

นะมามิ. 
พระองค์นั้น  ด้วยเศียรเกล้า.

                                 (กราบระลึกพระพุทธคุณ  กราบช้า ๆ  ด้วยความสำรวม)



                                       (๒.ธัมมาภิถุติ)


นำ (หันทะ  มะยัง  ธัมมภิถุติง  กะโร  มะ  เส)


โย  โส  สวากขาโต  ภะคะวะตา                        
พระธรรมนั้นใด  เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า  

 ธัมโม,                                                               
ได้ตรัสไว้ดีแล้ว

สันทิฎฐิโก,                                                        
เป็นธรรมที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ  พึงเห็นได้ด้วยตนเอง

อะกาลิโก,                                                         
 เป็นธรรมที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้โดยไม่จำกัดกาล,
เอหิปัสสิโก,                                                      
 เป็นธรรมที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด,

โอปะนะยิโก                                                    
เป็นธรรมที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตน,
ปัจจัตตัง  เวทิตัพโพ  วิญญูหิ,                            
เป็นธรรมที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน,

ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ,                            
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น,

ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ.                          
ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้นด้วยเศียรเกล้า.

                                                          (๓. สังฆาภิถุติ)
                                             นำ  (หันทะ  มะยัง  สังฆาภิถุติง  กะโรมะ  เส.)

โย  โส  สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต                      
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น    

สาวะกะสังโฆ,                                                 
หมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต                                
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด




สาวะกะสังโฆ,                                                
ปฏิบัติตรงแล้ว,

ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต                           
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด

สาวะกะสังโฆ,                                                
ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว,

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต                           
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด

สาวะกะสังโฆ,                                               
ปฏิบัติสมควรแล้ว,

ยะทะทัง,                                                      
ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ,

จัตตาริ  ปุริสะยุคานิ  อัฎฐะ                            
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ

ปุริสะปุคคะลา,                                              
(โสดาบัน สกิทาคา อนาคามี อรหันต์ มรรคและผล),

เอสะ  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ,                   
นั่นแหละ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,

อาหุเนย (นัย) โย,                                          
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา

ปาหุเนย (นัย) โย,                                          
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่จัดไว้ต้อนรับ

ทักขิเนย (นัย) โย,                                         
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน,

อัญชะลีกะระณีโย,                                        
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี,

อะนุตตะรัง  ปุญญักเขตตัง-                          
เป็นเนื้อนาบุญของโลก

โลกัสสะ,                                                      
ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ตะมะหัง  สังฆัง  อะภิปูชะยามิ,                      
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่งเฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น

ตะมะหัง  สังฆัง  สิระสา  นะมามิ,                   
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า.
                                                 
                                              (กราบลงช้า ๆ นอบน้อมด้วยความเคารพ)



คัดลอกจาก.....หนังสือธรรมานุสรณ์
                        ทำวัตร สวดมนต์ ธรรมภาวนา
                        วัดถ้ำแฝด ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี