Friday 21 June 2013

ภารสุตตคาถา

นำ  (หันทะ  มะยัง  ภาระสุตตะคาถาโย  ภะณามะ  เส)

ภารา  หะเว  ปัญจักขันธา,
ขันธ์ทั้งห้า  เป็นของหนักเน้อ,

ภาระหาโร  จะ  ปุคคะโล,
บุคคลแหละ  เป็นผู้แบกของหนักพาไป,

ภาราทานัง  ทุกขัง  โลเก,
การแบกถือของหนัก  เป็นความทุกข์ในโลก,
(
ภาระนิกเขปะนัง  สุขัง,
การสลัดของหนัก ทิ้งลงเสีย เป็นความสุข,

นิกขิปิตวา  คะรุง  ภารัง,
พระอริยเจ้า  สลัดทิ้งของหนัก  ลงเสียแล้ว,

อัญญัง  ภารัง  อะนาทิยะ,
ทั้งไม่หยิบฉวยเอาของหนักอันอื่นขึ้นมาอีก,

สะมูลัง  ตัณหัง  อัพพุยหะ,
ก็เป็นผู้ถอนตัณหาขึ้นได้  กระทั่งราก

นิจฉาโต  ปะรินิพพุโตติ.
เป็นผู้หมดสิ่งปรารถนา ดับสนิท ไม่มีส่วนเหลือ.


บทพิจารณาสังขาร
(ทุกเวลาทำวัตรเช้าและเวลาเข้านอน)

สัพเพ  สังขารา  อะนิจจา,
สังขาร คือ ร่างกายจิตใจ  แลรูปธรรม นามธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้น
มันไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป มีแล้วหายไป.

สัพเพ  สังขารา  ทุกขา,
สังขาร คือ ร่างกายจิตใจ แลรูปธรรม นามธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้น
มันเป็นทุกข  ทนยาก  เพราะเกิดขึ้นแล้ว แก่ เจ็บ ตายไป,

สัพเพ  ธัมมา  อะนัตตา,
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง  ทั้งที่เป็นสังขาร และมิใช่สังขาร ทั้งหมดทั้งสิ้น
ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ควรถือว่าเรา ว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา,

อะธุวัง  ชีวิตัง,
ชีวิตเป็นของไม่ยั่งยืน,

ธุวัง  มะระณัง,
ความตายเป็นของยั่งยืน,

อะวัสสัง  มะยา  มะริตัพพัง,
อันเราจะพึงตายเป็นแท้,

มะระณะปะริโยสานัง  เม  ชีวิตัง,
ชีวิตของเรา มีความตายเป็นที่สุดรอบ,

ชีวิตัง  เม  อะนิยะตัง,
ชีวิตของเราเป็นของไม่เที่ยง

มะระณัง  เม  นิยะตัง,
ความตายของเราเป็นของเที่ยง,

วะตะ,
ควรที่จะสังเวช,

อะยัง  กาโย,
ร่างกายนี้,

อะจิรัง,
มิได้ตั้งอยู่นาน,

อะเปตะวิญญาโณ,
ครั้นปราศจากวิญญาณ,

ฉุฑโฑ,
อันเขาทิ้งเสียแล้ว,

อะธิเสสสะติ,
จักนอนทับ,

ปะฐะวิง,
ซึ่งแผ่นดิน,

กะลิงคะรัง  อิวะ,
ประดุจดังว่าท่อนไม้และท่อนฟืน,

นิรัตถัง.
หาประโยชน์มิได้.



คัดลอกจาก.....หนังสือธรรมานุสรณ์
                        ทำวัตร สวดมนต์ ธรรมภาวนา
                        วัดถ้ำแฝด ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี










No comments:

Post a Comment

Note: only a member of this blog may post a comment.