(ปุพพภาคนมการ)
นำ (หันทะมะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโร มะเส)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น,
อะระหะโต,
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส,
สัมมาสัมพุทธัสสะ.
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง (ว่า ๓ ครั้ง)
(๑. พุทธาภิถุติ)
นำ (หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโร มะ เส)
โย โส ตะถาคะโต,
พระตถาคตเจ้านั้น พระองค์ใด,
อะระหัง,
เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ,
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
วิชชาจะระณะสัมปันโน,
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ,
สุคะโต,
เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว,
โลกะวิทู,
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง,
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษผู้ที่สมควรฝึก ได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง,
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,
พุทโธ,
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม,
ภะคะวา,
เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์,
โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ได้ทรงทำ
สะมาระกัง สะพรัหมะกัง
ความดับทุกข์ให้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่ง
สัสสะมะณะ พราหมะณัง ปะชัง
เองแล้ว ทรงสอนโลกนี้พร้อมทั้ง เทวดา
สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อะภิญญา
มาร พรหม และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ
สัจฉิกัตตะวา ปะเวเทสิ,
พราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม
โย ธัมมัง เทเสสิ,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ทรงแสดงธรรมแล้ว
อาทิกัลยาณัง,
ไพเราะในเบื้องต้น,
มัชเฌกัลยาณัง,
ไพเราะในท่ามกลาง,
ปะริโยสานะกัลยาณัง,
ไพเราะในที่สุด,
สาตถัง สะพยัญชะนัง
ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือแบบแห่งการ
เกวะละปะริปุณณัง
ปฏิบัติอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
ปะริสุทธังพรหมะจะริยัง
พร้อมทั้งอรรถะ (คำอธิบาย) พร้อมทั้ง
ปะกาเสสิ,
พยัญชนะ (หัวข้อ)
ตะมะหัง ภะคะวันตังอะภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,
ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา
ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า
นะมามิ.
พระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า.
(กราบระลึกพระพุทธคุณ กราบช้า ๆ ด้วยความสำรวม)
(๒.ธัมมาภิถุติ)
นำ (หันทะ มะยัง ธัมมภิถุติง กะโร มะ เส)
โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา
พระธรรมนั้นใด เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ธัมโม,
ได้ตรัสไว้ดีแล้ว
สันทิฎฐิโก,
เป็นธรรมที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก,
เป็นธรรมที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้โดยไม่จำกัดกาล,
เอหิปัสสิโก,
เป็นธรรมที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด,
โอปะนะยิโก
เป็นธรรมที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตน,
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ,
เป็นธรรมที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน,
ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น,
ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ.
ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้นด้วยเศียรเกล้า.
(๓. สังฆาภิถุติ)
นำ (หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส.)
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
สาวะกะสังโฆ,
หมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด
สาวะกะสังโฆ,
ปฏิบัติตรงแล้ว,
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด
สาวะกะสังโฆ,
ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว,
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด
สาวะกะสังโฆ,
ปฏิบัติสมควรแล้ว,
ยะทะทัง,
ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ,
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฎฐะ
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ
ปุริสะปุคคะลา,
(โสดาบัน สกิทาคา อนาคามี อรหันต์ มรรคและผล),
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
นั่นแหละ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,
อาหุเนย (นัย) โย,
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนย (นัย) โย,
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่จัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเนย (นัย) โย,
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน,
อัญชะลีกะระณีโย,
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี,
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง-
เป็นเนื้อนาบุญของโลก
โลกัสสะ,
ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่งเฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น
ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ,
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า.
(กราบลงช้า ๆ นอบน้อมด้วยความเคารพ)
คัดลอกจาก.....หนังสือธรรมานุสรณ์
ทำวัตร สวดมนต์ ธรรมภาวนา
วัดถ้ำแฝด ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
No comments:
Post a Comment
Note: only a member of this blog may post a comment.